บทความต่าง ๆ

การทำปุ๋ยหมักมูลวัว หรือปุ๋ยคอกหมัก

 

นับจากวันที่ผมเริ่มทำการเกษตรมา สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าจำเป็นอย่างมากในการทำเกษตร นั่นก็คือ ปุ๋ย แต่สิ่งที่ผมกำลังทำอยู่นี้ ผมให้คำจำกัดความมันว่า ต้องปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและจนส่งถึงมือผู้บริโภค ผลผลิตที่เราปลูก เราต้องทานได้เช่นกัน และผมพบกับคำว่า เกษตรอินทรีย์ ซึ่งมันตอบโจทย์ในความหมายในแบบที่ผมต้องการ

       ปุ๋ย คำ ๆ นี้ก็คือ อาหารของพืช ที่เมื่อพืชได้รับไปแล้ว จะทำให้พืชผักผลไม้เจริญงอกงามนั่นเอง การทำเกษตรอินทรีย์ก็ต้องใช้ปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นเช่นกันครับ ต้องเป็นปุ๋ยที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยขี้หมู หรือแม้กระทั้งปุ๋ยน้ำที่หมักจากเศษใบไม้ เศษพืชผักผลไม้ และปุ๋ยที่หมักจากเศษปลาหรือหอยเชอรี่ แต่ปุ๋ยที่หาได้ง่ายในชุมชนของเราก็คือ ปุ๋ยคอก(ปุ๋ยขี้วัว) นี่เอง และหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่า เมื่อได้ปุ๋ยคอกมาแล้ว ก็นำไปใส่พืชเลย ทั้งที่ยังเปียกหรือสดอยู่ ไม่ผิดครับ แต่กว่าที่ปุ๋ยคอกจะย่อยสลายต้องใช้เวลานาน กว่าที่พืชจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ก็ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ทั้งนี้ปุ๋ยคอกสด ๆ ที่นำไปใช้โดยที่ยังไม่ผ่านกระบวนการย่อยสลาย มีธาตุอาหารมากก็จริง แต่พืชจะยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากจุลินทรีย์ในดินจะดึงไนโตรเจนจากพืชมาช่วยในการย่อยสลายปุ๋ยคอก จึงทำให้พืชขาดไนโตรเจนในช่วงนั้น จนเป็นสาเหตุให้ใบเหลืองซีดครับ

 

การทำปุ๋ยคอกหมัก

       เพราะเหตุนี้เอง เราจึงจำเป็นต้องทำปุ๋ยคอกหมัก เพื่อให้ผ่านกระบวนการย่อยสลาย และพืชก็จะสามารถนำสารอาหารในปุ๋ยคอกหมักไปใช้ได้เลย ทราบไหมครับว่า ตอนที่ผมทำปุ๋ยคอกหมักแล้วตักใส่กระสอบทิ้งไว้วันแรก ๆ เป็นยังไง ตัวปุ๋ยคอกหมักเองมันร้อนมากเลยครับ เนื่องจากตอนนี้เองมันจะเกิดกระบวนการย่อยสลาย และถ้าเราไม่หมักก่อน นี่ก็จะเป็นสิ่งที่พืชจะได้รับ แทนที่จะได้ประโยชน์ อาจจะกลายเป็นโทษแทนก็ได้นะครับ

       ทั้งนี้ลองสังเกตจากที่เราเคยทำมาได้ครับ เรานำปุ๋ยคอกมาใหม่ ๆ อยากให้พืชเจริญเติบโตดี จัดเต็ม ใส่ไม่ยั้ง หวังว่าพืชจะงอกงาม แต่สุดท้ายใบเหลืองเฉยเลย ทั้งที่เราก็เข้าใจว่าเราใส่ปุ๋ยดี ๆ ให้กับพืชแล้ว เพราะฉะนั้น ก่อนใช้เราจึงควรหมักปุ๋ยคอกหรือนำไปตากให้แห้งก่อน เพื่อที่พืชจะสามารถนำธาตุอาหารที่อยู่ในปุ๋ยคอกหมักไปใช้ได้เลย การปลูกพืชถ้าเราใส่ใจเขา ดูแลเขาดี ๆ เขาก็จะเจริญเติบโตงอกงามมาให้เราได้ชื่นชมครับ ขอเพียงเข้าใจหลักการของธรรมชาติเท่านั้นก็พอ

       การทำปุ่ยคอกหมัก ที่ผมจะมาแนะนำสำหรับวันนี้ ก็เพื่อที่จะให้เราสามารถนำไปใช้กับพืชเกษตรของเรา ถ้าใครมีปุ๋ยคอกมาก ก็สามารถนำไปใช้ได้กับพืชไร่ก็ได้ครับ หรือจะหมักไว้ใช้เองกับพืชผักสวนครัวของเราก็ได้เช่นกัน และผมก็ได้สรุปออกมาเป็นขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ทำง่าย ประหยัดเวลาของคุณ ไม่ต้องไปลองผิดลองถูกเอง เพราะตอนนี้ผมได้คัดเฉพาะ ลองถูก มาไว้ให้แล้ว ว่าแล้วมาเริ่มกันเลยครับ

 

ส่วนประกอบของ การทำปุ๋ยคอกหมัก

1.ปุ๋ยคอก          1 ส่วน (1 กระสอบ)

2.แกลบ            1 ส่วน (1 กระสอบ)

3.รำ                1 ส่วน (1 กระสอบ)

4.น้ำ EM ขยาย   1 ลิตร 

5.กากน้ำตาล      1 ลิตร

6.น้ำสะอาด       25 ลิตรหรือมากกว่า ซึ่งจะอธิบายในขั้นตอนการทำ

 

ขั้นแรก นำปุ๋ยคอกที่ได้มาตากแดดให้แห้ง

 

การทำปุ๋ยคอกหมัก

 

เกลี่ยให้โดนแดดทิ้งไว้ 1-2 แดด ถ้าปุ๋ยคอกที่ได้มาแห้งแล้วก็ไม่ต้องตากนะครับ

 การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

เมื่อปุ๋ยคอกแห้งแล้ว ก็เตรียมส่วนผสมให้พร้อม ปุ๋ยคอก ,รำ ,ข้าวเปลือก = 1:1:1

 การทำปุ๋ยคอกหมัก

เทส่วนผสมทั้งหมดลงพื้น

 การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

ใช้จอบเกลี่ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาพอสมควรครับ

 การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

เมื่อเข้ากันแล้ว จะได้ตามภาพด้านล่าง

 การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

เติมน้ำ EM ขยาย และกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ ผสมน้ำให้เข้ากัน

 การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

นำไปรดที่กองปุ๋ยคอกที่เตรียมไว้ ถ้าไม่มีบัวรดน้ำใช้ขันตักไปก็ได้ครับ

 การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

จากนั้นใช้จอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้เวลาพอสมควรครับ ลองใช้มือบีบดู ไม่แห้งหรือไม่เปียกเกินไป
อย่างที่บอกตอนต้น ถ้ายังแห้งอยู่ เพิ่มน้ำอีกได้เลยโดยไม่จำเป็นต้อง 25 ลิตรเป๊ะ แล้วใช้จอบเกลี่ยไปด้วยเรื่อย ๆ
การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

 

เสร็จแล้วตักใส่ไว้ในกระสอบ ตั้งไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ในวันแรกผมปิดปากถุง ปรากฎว่าปุ๋ยคอกร้อนมาก เราจึงจำเป็นต้องเปิดปากกระสอบให้ความร้อนของตัวปุ๋ยระบายออกครับ

 การทำปุ๋ยหมักมูลวัว

ผ่านไป 2 วัน เริ่มหายร้อนแล้ว ตัวปุ๋ยเองเริ่มมีการย่อยสลาย สังเกตจากมีฝ้าขาว ๆ อยู่ทั่วไปครับ

 การทำปุ่ยคอกหมัก

ผ่านไป 3 วัน บางส่วนเริ่มย่อยสลายแล้ว

 การทำปุ๋ยคอกหมัก

ผ่านไป 5 วัน ลองใช้มือขยำดูรู้สึกว่าจะเป็นขุย ๆ แล้วครับ

 การทำปุ๋ยคอกหมัก

ผ่านไป 7 วัน จับขึ้นมาขย้ำดู สังเกตดูว่าฝุ่นคลุ้งเลยครับ

 PHOTO_20160301_174850

 หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ 1 อาทิตย์ก็สามารถนำไปใช้กับผลผลิตของเราได้แล้วครับ

ตอนนี้ผมนำกระสอบมาเทนะครับ ที่เป็นก้อนก็ใช้มือขย้ำให้แตก รู้สึกว่าจะแตกง่าย ๆ เลยครับ

 PHOTO_20160301_180539

 PHOTO_20160301_180526

อนนี้ก็สามารถนำไปใส่ผลผลิตของเราได้แล้ว ของผมจะเป็นกล้วยหอมทอง และพืชผักสวนครับ

 PHOTO_20160301_180338

 PHOTO_20160301_175450

 PHOTO_20160301_180928

PHOTO_20160301_181837
ส่วนนี่พืชผัก หรือสตอเบอรี่ก็ใส่ได้ครับ

 PHOTO_20160301_175717

 PHOTO_20160301_175813

     PHOTO_20160301_175825 

PHOTO_20160301_175634
 
PHOTO_20160301_175844

 เป็นยังไงกันบ้างครับ กับการทำและใช้ปุ๋ยคอกหมัก ถ้าเพื่อน ๆ มีข้อสงสัยอะไรเข้าไปสอบถามใน Fanpage ได้นะครับ แล้วเรามาร่วมกันสร้างสังคมที่ยั่งยืน ให้เป็นสังคมเกษตรอินทรีย์ ซึ่งปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคกันนะครับ

 

และขอให้ทุก ๆ คนมีความสุขกับการทำเกษตร กับการทำในสิ่งที่รักครับ

 

 

 

 http://www.organicfarmthailand.com/?p=1358

 

 

Visitors: 872,592